วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น

การบ้านบทที่ 4 ประจำวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ.2553
1.โครงสร้างข้อมูลเชิงสัมพันธ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ   1.เอนทิตี้ (Entity) หมายถึง ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ได้แก่ คน สถานที่ สิ่งของ การกระทำ ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้ เช่น เอนทิตี้ลูกค้า เอนทิตี้พนักงาน
            2.แอททริบิวต์ (Attribute) หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่ง ๆ เช่น  เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วยแอทริบิวต์รหัสนักศึกษา ,แอททริบิวต์ชื่อนักศึกษาและแอททริบิวต์ที่อยู่นักศึกษา
2.คุณสมบัติในการจัดเก็บข้อมูลของรีเลชั่นมีอะไรบ้าง
ตอบ ในแต่ละ Relation ประกอบด้วยข้อมูลของ Attribyte ต่างๆที่จัดเก็บในรูปตาราง 2 มิติ คือ Row, Column
1.ข้อมูลในแต่ละแถวจะไม่ซ้ำกัน
2.การจัดเรียงลำดับของข้อมูลในแต่ละแถวไม่เป็นสาระสำคัญ
3.การจัดเรียงลำดับของ Attribute จะเรียงลำดับก่อนหลังอย่างไรก็ได้
4.ค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute ของ Tuple หนึ่งๆ จะบรรจุได้เพียงค่าเดียว
5.ค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute จะบรรจุค่าของข้อมูลประเภทเดียวกัน
3. รีเลชั่นประกอบด้วยคีย์ประเภทต่าง ๆ อะไรบ้างจงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบประเภทคีย์ดังกล่า
ตอบ
1.คีย์หลัก (Primary key)เป็น Attribute ที่มีคุณสมบัติของข้อมูลที่เป็นค่าเอกลักษณ์หรือมีค่าที่ไม่ซ้ำกัน คุณสมบัติดังกล่าวจะสามารถระบุว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลของ Tuple ใด เช่น รหัสพนักงาน เลขที่ 3001 สามารถระบุได้ว่าเป็นของพนักงานชื่อ ดวงพร Attribute ที่มีคุณสมบัติเป็น คีย์หลักอาจประกอบด้วยหลาย Attribute รวมกันเรียกว่า Composite Key (คีย์ผสม)นอกจากนี้ ใน Relation หนึ่งๆ อาจมี Attribute ที่มีคุณสมบัติเป็นคีย์หลักได้มากกว่า หนึ่งAttribute เรียก Attribute เหล่านี้ว่า Candidate Key (คีย์คู่แข่ง)ถ้า Attribute หนึ่งถูกกำหนดให้เป็นคีย์หลัก อีก Attribute หนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก แต่ไม่ได้ถูกเลือกให้เป็นคีย์หลักจะเรียกว่า คีย์สำรอง (Alternate Key)
2.คีย์ผสม (Composite Key) การนำฟิลด์ตั้งแต่ 2 ฟิลด์ขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็น Primary Key เนื่องจากหากใช้ฟิลด์ใดฟิลด์หนึ่งเป็น PK จะส่งผลให้ข้อมูลในแต่ละเรคอร์ดซ้ำซ้อนกันได้
3.คีย์คู่แข่ง (Candidate Key) ในแต่ละ relation อาจมี Attribute ที่ทำหน้าที่เป็นคีย์หลักได้มากกว่าหนึ่ง Attribute โดยเรียก Attribute เหล่านี้ว่าคีย์คู่แข่ง (Candidate Key) เช่น นักศึกษาแต่ละคนมี รหัสประจำตัวนักศึกษาและรหัสประจำตัวประชาชนโดยปกติแล้วจะเลือก Candidates Key ที่สั้นที่สุดเป็น Primary Key
4.คีย์นอก (Foreign)
 เป็น Attribute ใน Relation หนึ่งที่ใช้อ้างอิงถึง Attribute เดียวกันนี้ในอีก Relation หนึ่ง โดยที่ Attribute นี้มีคุณสมบัติเป็นคีย์หลักใน Relation ที่ถูกอ้างอิง การมี Attribute นี้ปรากฏอยู่ในRelation ทั้งสองก็เพื่อประโยชน์ ในการเชื่อมโยงข้อมูล
4. Null หมายถึงอะไรใน Relational Database
ตอบ Null คือค่าว่าง เป็นการ"เปรียบเทียบ" ว่า ข้างซ้าย เท่ากับ ข้างขวาหรือไม่ ถ้าเท่ากันให้ค่า true ถ้าไม่เท่าให้ค่า false
Null เป็นการเปรียบเทียบตัวแปรชื่อ UL ว่าเท่ากับ ค่าว่างหรือไม่ ถ้าข้อแม้เป็นจริงหรือตัวแปร UL ไม่มีค่าใดๆเก็บอยู่ให้ค่าเป็น true ถ้าไม่เป็นจริงหรือตัวแปรมีค่าใดๆเก็บอยู่ให้ค่าเป็น false
5. เหตุใดจึงต้องมีการนำ Integrity rule มาใช้ในฐานข้อมู
ตอบ Integrity Rule คือ กฎควบคุมความคงสภาพของข้อมูล ถูกนำไปใช้เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้อง คล้องจอง หรือมีความสมเหตุสมผลกัน และจะช่วยป้องกันการกระทำใดแถวของข้อมูลในแอนทิตี้แรกๆ ที่ส่งผลกระทบต่อข้อมูล หรือเกิดความไม่ถูกต้อง ความไม่สอดคล้องขึ้นกับข้อมูล
6. ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชั่นมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอ
ตอบ  ความสัมพันธ์ระหว่างรีเลชั่นมี 3 ประเภท
-ความสัมพันธ์แบบ หนึ่ง - ต่อ - หนึ่ง (one-to-one) หมายถึง มี 1 ข้อมูลในความสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราแยกที่อยู่ออกจากตารางข้อมูล Customers จะต้องมีความสัมพันธ์ หนึ่ง - ต่อ - หนึ่ง ระหว่างชุดข้อมูลต้องมี (foreign key จาก Addresses ไปยัง Customers)
-ความสัมพันธ์แบบ หนึ่ง - ต่อ - หลาย (one-to-many) หมายถึง 1 แถว ในตารางข้อมูลหนึ่ง เชื่อมกับหลายแถวในอีกตาราง ตัวอย่างเช่น ลูกค้า 1 คน สามารถมีหลายใบสั่งซื้อ ในความสัมพันธ์นี้ตารางที่เก็บหมายเลขแถวจะต้องมี foreign ไปตารางที่มี 1 แถวข้อมูล ดังนั้น จึงมี Customer ID ในตารางข้อมูล Orders เพื่อแสดงความสัมพันธ์
-ความสัมพันธ์แบบ หลาย - ต่อ - หลาย (many-to-many) หมายถึง หลายแถวในตารางข้อมูลหนึ่งเชื่อมกับหลายแถวในอีกตาราง ตัวอย่าง เช่น ถ้ามีตารางข้อมูล 2 ตาราง Books และ Authors อาจจะพบว่าหนังสือ 1 เล่ม เขียนโดยนักเขียน 2 คน แต่ละคนเขียนหนังสือเล่มอื่นด้วย ตามปกติความสัมพันธ์ประเภทนี้ ควรอีกตารางข้อมูลเก็บข้อมูลทั้งหมด อาจจะต้องมี Books, Authors และ Books_Authors โดยตารางที่ 3 เก็บเฉพาะคีย์ของตารางอื่นในฐานะ foreign key เป็นคู่ เพื่อแสดงว่าผู้เขียนเกี่ยวข้องกับหนังสือเล่มใด

วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น ตอนเรียน A1 การบ้านบทที่ 3 ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2553


1.การแบ่งสถาปัตยกรรมของฐานข้อมูลออกเป็น 3 ระดับ มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ใดเป็นสำคั

            - เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระของข้อมูล (Data Independence) คือในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระดับที่สูงกว่า จะไม่มีผลกระทบกับข้อมูลในระดับที่ต่ำกว่า

2.ความเป็นอิสระของข้อมูลมีบทบาทสำคัญอย่างไรต่อการจัดการฐานข้อมูล จงอธิบา
           -
ความเป็นอิสระของข้อมูลคือการที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลในระดับแนวความคิด หรือระดับภายในได้โดยไม่กระทบกับโปรแกรมที่ เรียกใช้ ผู้ใช้ยังมองเห็นโครงสร้างข้อมูลในระดับ ภายนอกเหมือนเดิมและใช้งานได้ตามปกติ โดยมี DBMS เป็นตัวจัดการในการเชื่อมต่อข้อมูล ในระดับ ภายนอกกับระดับแนวความคิด และเชื่อมข้อมูลระดับแนวความคิดกับระดับภายใน นั่นหมายถึงการ เปลี่ยนแปลงข้อมูลในระดับที่ต่ำ กว่า จะไม่กระทบกับข้อมูลที่อยู่ในระดับที่สูงกว่า ซึ่งความเป็นอิสระ ของข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ
           
 1. ความเป็นอิสระของข้อมูลเชิงตรรกะ (Logical Data Independce) คือ การเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงสร้างของข้อมูลในระดับแนวความคิด จะไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างข้อมูลในระดับภายนอกที่ผู้ใช้งานใช้อยู่ เช่น ในการเขียนโปรแกรมเพื่อแสดงข้อมูลของพนักงาน ซึ่งใช้ข้อมูลใน ระดับภายนอก หากในระดับแนวความคิด มีการเปลี่ยนแปลง โดยการ เพิ่มแอตทริบิวส์บางตัวเข้าไปใน รายละเอียดข้อมูลของพนักงาน จะไม่มี ผลกระทบกับโปรแกรมเดิมที่ทำงานอยู่
            2.
ความเป็นอิสระของข้อมูลเชิงกายภาพ (Physical Data Independce) คือการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโครงสร้างของข้อมูลในระดับภายใน จะ ไม่มีผลกระทบต่อ โครงสร้างข้อมูลในระดับแนวความคิด หรือระดับภายนอก เช่น ในระดับภายในมีการเปลี่ยนวิธีการ จัดเก็บข้อมูลจากแบบ เรียงลำดับ (sequential) ไปเป็นแบบดัชนี (indexed) ในระดับภายใน ในระดับแนวคิดนั้นจะไม่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หรือ โปรแกรมประยุกต์ที่เขียน ในระดับ ภายนอกก็ไม่จำเป็นต้องแก้ไขโปรแกรมตามวิธีการจัดเก็บที่เปลี่ยนแปลงไป

3.ปัญหาที่สำคัญของ Hierarchical Model คืออะไร และเหตุใด Hierarchical Model จึงไม่สามารถลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหม
            - Record
 ที่อยู่ด้านบนของโครงสร้างหรือพ่อ (Parent Record) นั้นสามารถมีลูกได้มากกว่าหนึ่งคนแต่ลูก (Child Record) จะไม่สามารถมีพ่อได้มากกว่า 1 คนได้

4.เหตุใด Network Model ซึ่งสามารถแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้จึงไม่เหมาะกับการนำมาใช้งา
            -
เพราะสามารถมีต้นกำเนิดของข้อมูลได้มากกว่า 1   และยินยอมให้ระดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะมีได้หลายแฟ้มข้อมูลถึงแม้ว่าระดับชั้นถัดลงมาจะมีเพียงแฟ้มข้อมูลเดียว ช่วยลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ทั้งหมด และความสัมพันธ์ข้อมูลที่เชื่อมโยงกันไปมาทำให้ยากต่อการใช้งาน

5. สิ่งที่ทำให้  Relational  Model  ได้รับความนิยมอย่างมากคืออะไร จงอธิบาย
            -
เป็นการจัดข้อมูลในรูปแบบของตาราง 2 มิติ คือมี  แถว (Row) และ คอลัมน์ (Column) โดยการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างตาราง จะใช้ Attribute ที่มีอยู่ทั้งสองตารางเป็นตัวเชื่อมโยงข้อมูล เหมาะกับงานที่เลือกดูข้อมูลแบบมีเงื่อนไขหลายคีย์ฟิลด์ข้อมูล ป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือแก้ไขได้ดี เนื่องจากโครงสร้างแบบสัมพันธ์นี้ผู้ใช้จะไม่ทราบว่าการเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลอย่างแท้จริงเป็นอย่างไร จึงสามารถป้องกันข้อมูลถูกทำลายหรือถูกแก้ไขได้ดี การเลือกดูข้อมูลทำได้ง่าย มีความซับซ้อนของข้อมูลระหว่างแฟ้มต่าง ๆ น้อยมาก อาจมีการฝึกฝนเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้ทำงานได้


วันอาทิตย์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย

            ฮับ (HUB)   
            ฮับเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมโยง สัญญาณของอุปกรณ์เครือข่ายเข้าด้วยกัน การจะทำให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องคอมพิวเตอร์รู้จักกัน หรือส่งข้อมูลถึงกันได้จะต้องผ่านอุปกรณ์ตัวนี้
            Hub is a device used for the link. Signs of network equipment together. The computer will recognize each individual computer. Or send information to each other will have to go through this device.

ฟัง
อ่านออก เสียง

             VPN ย่อ มาจาก Virtual Private Network
            เป็นเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่าย นอกอาคาร (WAN - Wide Area Network) เป็นระบบเครือข่ายภายในองค์กร  ซึ่งเชื่อมเครือข่ายในแต่ละสาขาเข้าด้วยกัน โดยอาศัย Internet เป็นตัวกลาง
           
Technology and network connections outside (WAN - Wide Area Network) is a networking organization.  Which is connected in each network together using Internet as a medium

มาตรฐานของ Wireless Lan

          IEEE 802.3 หรือ อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็นเครือข่ายที่มีความเร็วสูงการส่งข้อมูล 10 เมกะบิตต่อวินาที สถานีในเครือข่ายอาจมีโทโปโลยีแบบัสหรือแบบดาว IEEE ได้กำหนดมาตรฐานอีเทอร์เน็ตซึ่งทำงานที่ความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาทีไว้หลายประเภทตามชนิดสายสัญญาณเช่น
          • 10Base5 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอกเชียลแบบหนา (Thick Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 500 เมตร
          • 10Base2 อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบบัสซึ่งใช้สายโคแอ๊กเชียลแบบบาง (Thin Ethernet) ความยาวของสายในเซกเมนต์หนึ่ง ๆ ไม่เกิน 185 เมตร
          • 10BaseT อีเทอร์เน็ตโทโปโลยีแบบดาวซึ่งใช้ฮับเป็นศูนย์กลาง สถานีและฮับเชื่อมด้วยสายยูทีพี (Unshield Twisted Pair) ด้วยความยาวไม่เกิน 100 เมตร 
            ลักษณะเครือข่ายอีเทอร์เน็ตแยกตามประเภทของสายสัญญาณ รหัสขึ้นต้นด้วย
10 หมายถึงความเร็วสายสัญญาณ 10 เมกะบิตต่อวินาที คำว่า “Base” หมายถึงสัญญาณชนิด “Base” รหัสถัดมาหากเป็นตัวเลขหมายถึงความยาวสายต่อเซกเมนต์ในหน่วยหนึ่งร้อยเมตร (5=500, 2 แทนค่า 185) หากเป็นอักษรจะหมายถึงชนิดของสาย เช่น T คือ Twisted pair หรือ F คือ Fiber opticsส่วนมาตรฐานอีเทอร์เน็ตความเร็ว 100 เมกกะบิตต่อวินาทีที่นิยมใช้ในปัจจุบันได้แก่ 100BaseTX และ 100BaseFX สำหรับอีเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบกิกะบิตอีเทอร์เน็ตเริ่มแพร่หลายมากขึ้น ตัวอย่างของมาตรฐานกิกะบิตอีเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้แก่ 100BaseT, 100BaseLX และ 100BaseSX เป็นต้น
            IEEE 802.5 หรือ โทเคนริง (Token Ring) หรือมักเรียกว่าไอบีเอ็มโทเคนริงจัดเป็นเครือข่ายที่ใช้โทโปโลยีแบบวงแหวนด้วยสายคู่ตีเกลียวหรือเส้นใยนำแสง อัตราการส่งข้อมูลของโทเค็นริงที่ใช้โดยทั่วไปคือ 4 และ 6 เมกะบิตต่อวินาที การทำงานของโทเค็นริง โดยมีเฟรมพิเศษเรียกว่า โทเค็นว่าง (free token) วิ่งวนอยู่ สถานีที่ต้องการส่งข้อมูลจะรอให้โทเค็นว่างเดินทางมาถึงแล้วรับโทเค็นว่างมาเปลี่ยนเป็น เฟรมข้อมูล (data frame) โดยใส่แฟล็กแสดงเฟรมข้อมูลและบรรจุแอดเดรสของสถานีต้นทางและปลายทางตลอดจนข้อมูลอื่นๆจากนั้นสถานีจึงปล่อยเฟรมนี้ออกไป
         IEEE 802.11 
คือ มาตรฐานของการรับ ส่งข้อมูลโดยอาศัยคลื่นความถี่ตัวอย่างของการใช้งานเช่น Wireless Lan หรือ Wi-Fi และอีกทั้งยังได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องมาเรื่อยๆ       
         IEEE 802.11A คือ มาตรฐานแรกที่ได้รับการประกาศออกมาโดยอาศัยการส่งข้อมูลในช่วงคลื่น 5 GHz ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่สูงทำให้ความเร็วในการส่งข้อมูลสูงตามไปด้วยโดยมีความสามารถในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงสุดที่ 54 Mbps แต่ในช่วงแรกบางประเทศไม่อนุญาตให้ใช้งานเนื่องจากคลื่นความถี่ 5 GHz นั้นไม่ใช่ความถี่สาธารณะจำเป็นต้องได้รับอนุญาตเสียก่อน
     
  IEEE 802.11B คือ มาตรฐานที่ออกมาพร้อมกับ 802.11a เพียงแต่ใช้คลื่นความถี่ที่ 2.4 GHz802.11a จึงทำให้มีความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูลที่ช้ากว่าโดยมีความสามารถในการรับ - ส่งสูงสุดที่ 11 Mbps เท่านั้นแต่เนื่องจากคลื่นความถี่ 2.4 GHz เป็นคลื่นความถี่สาธารณะ จึงสามารถนำไปใช้งานได้ในทุกๆ ประเทศโดยไม่จำเป็นต้องขออนุมัติก่อนแต่เนื่องจากเป็นคลื่นความถี่สาธารณะ ดังนั้นอุปกรณ์ไร้สายอื่นๆ จึงใช้คลื่นความถี่นี้เช่นเดียวกันเลยทำให้เกิดสัญญาณรบกวนกันได้ง่ายมาก ทำให้ประสิทธิภาพของมาตรฐานนี้จึงถูกลดทอนด้วยปัจจัยจากสภาพแวดล้อม
         IEEE 802.11G คือ มาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาจาก 802.11b โดยยังคงใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz แต่มีความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 54 Mbps หรือเท่ากับมาตรฐาน 802.11a เพียงแต่ว่าความถี่ 2.4 GHz ยังคงเป็นคลื่นความถี่สาธารณะอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นจึงยังมีปัญหาเรื่องของสัญญาณรบกวนจากอุปกรณ์ที่ใช้คลื่นความถี่เดียวกันอยู่ดี      
        
 IEEE 802.11N คือ มาตรฐาน IEEE 802.11N อาจจะยังไม่ถือว่าเป็นมาตรฐานจริงๆ เนื่องจากยังไม่ได้ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ เพราะยังคงอยู่ในช่วงระหว่างการพัฒนาอยู่ และใกล้เสร็จสมบูรณ์แล้ว ซึ่งมาตรฐาน 802.11Nจะเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดด้วยการใช้เทคโนโลยีมากมายเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูลให้สูงขึ้น โดยจะมีความเร็วอยู่ที่ 300 Mbps หรือเร็วกว่าแลนแบบมีสายที่มาตรฐาน 100 BASE-TX นอกจากนี้ยังมีระยะพื้นที่ให้บริการกว้างขึ้น โดยเทคโนโลยีที่ 802.11Nเทคโนโลยี MIMO ซึ่งเป็นการรับส่งข้อมูลจากเสาสัญญาณหลายๆ ต้นพร้อมๆ กัน ทำให้ได้ความเร็วสูงมากขึ้น และยังใช้คลื่นความถี่แบบ Dual Band คือทั้ง2.4 GHz และ5 GHz ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ว่าออกแบบมาให้ทำงานกับคลื่นใดหรือทำงานกับทั้งสองคลื่นพร้อมๆ กันได้ ซึ่งทำให้บางประเทศที่ยังไม่ได้อนุมัติให้ใช้เครือข่ายไร้สายมาตรฐาน 802.11a อาจจะมีปัญหากับการใช้งานเครือข่ายไร้สายตามมาตรฐาน802.11N

วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โปรแกรม Skype คืออะไร

 Skype คืออะไร ?
            Skype (อ่านออกเสียงว่า สไคพ์คือโปรแกรม ประเภท  Peer-to-Peer ที่ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่าย  IP  (VoIP) บน Internet  Skype users สามารถพูดคุยหรือประชุมกันได้, ส่ง message, รับ/ส่ง ไฟล์ รวมไปถึงติดต่อกันด้วย webcams ผ่านทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้นทางหรือปลายทาง เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์, โทรศัพท์บ้าน, โทรศัพท์มือถือ และ PDA 
             การทำงานหลัก ๆ ของ Skype นั้น จะคล้ายกับโปรแกรม MSN และYahoo messager แต่แตกต่างกันที่ Protocol และเทคนิคในการส่งข้อมูล  จึงทำให้ Skype มีคุณภาพเสียงที่ดีกว่า MSNและYahoo messenger และข้อมูลที่รับส่งทุกอย่างจะมีการเข้ารหัสด้วยเทคโนโลยี RC4 ผู้ใช้สามารถ download โปรแกรม Skype ฟรีจากอินเทอร์เน็ตได้ ผู้ใช้สามารถทำการโทรศัพท์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ถึง เครื่องคอมพิวเตอร์(PC to PC) หรือ การโทรศัพท์จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ ถึงโทรศัพท์บ้านทั่วไป (PC to Phone) รวมทั้งการโทรไปยังปลายทาง ที่เป็นโทรศัพท์มือถือด้วยเช่นกัน ดังนั้นการโทรศัพท์ ผ่านโปรแกรม Skype จึงเป็นเรื่องที่ทำให้ผู้ใช้ได้รับความสะดวกสบายและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากมาย 
            Skype เป็นผลงานการพัฒนาโดย Niklas Zennstrom  และ Janus Friis จากบริษัท สไคปพ์เทคโนโลยี จำกัด  ประเทศลักแซมเบิร์ก การที่ผู้ใช้จะใช้บริการของ Skype ได้นั้น จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ดังต่อไปนี้
·                     เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ จะเป็น PC หรือ Notebook ก็ได้
·                     มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โดยจะเป็นแบบ Dial up 56K หรือ High Speed ADSL ก็ได้
·                     มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการคุยโทรศัพท์เช่น USB Phone เป็นต้น

   
 การใช้งาน Skype

          ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าเราสามารถใช้งาน Skype ได้ทั้งในแบบ PC to PC และ PC to Phone ดังนั้นการใช้งานก็จะแตกต่างกันไป รวมถึงค่าใช้จ่าย ในการโทรแต่ละแบบก็จะแตกต่างกันไปด้วย การใช้บริการ Skype แบบ PC to PC มีลักษณะดังต่อไปนี้

·                     Skype เป็นบริการโทรฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย
·                     ผู้ใช้ต้องมีคอมพิวเตอร์ทั้งฝั่งต้นทางและปลายทาง
·                     ผู้ใช้ต้องออนไลน์ อินเทอร์เน็ตทั้งต้นทางและปลายทาง


การโทรศัพท์ผ่าน Skype แบบ PC to Phone (Skype Out) นั้น มีลักษณะดังต่อไปนี้
·                     ผู้ใช้จะเสียค่าบริการตามอัตราบริการ SkypeOut ที่ขึ้นอยู่กับประเทศปลายทาง
·                     จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์เพียงเพียงต้นทางก็ใช้ได้แล้ว
·                     มีการออนไลน์อินเทอร์เนตเพียงต้นทางที่จะทำการโทรเท่านั้น 
      ข้อดีของการใช้โปรแกรม Skype    
      ข้อดีของการใช้โปรแกรม Skype สามารถสรุปได้ดังนี้ 
      1)   ผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม   เพราะใช้งานโดยระบบ online ผ่านอินเตอร์เน็ตตามปกติอยู่แล้ว
      2)   ช่วยลดค่าโทรศัพท์ทางไกลและเป็นการใช้ทรัพยากรที่เราลงทุนไปแล้วอย่างคุ้มค่า

แหล่งอ้างอิง               
http://www.google.com
http://www.thaiware.com/main/info.php?id=7241
http://www/Ipho.go.th/telemed/what skype.php



Topology คืออะไร

Topology   คืออะไร ?
             โทโปโลยี  คือลักษณะทางกายภาพ (ภายนอก) ของระบบเครือข่าย ซึ่งหมายถึง ลักษณะของการเชื่อมโยงสายสื่อสารเข้ากับอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายด้วยกันนั่นเอง โทโปโลยีของเครือข่าย LAN แต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งาน แตกต่างกันออกไป การนำไปใช้จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องทำการศึกษาลักษณะและคุณสมบัติ ข้อดีและข้อเสียของโทโปโลยีแต่ละแบบ เพื่อนำไปใช้ในการออกแบบพิจารณาเครือข่าย ให้เหมาะสมกับการใช้งาน รูปแบบของโทโปโลยี ของเครือข่ายหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้
            1.  โทโปโลยีแบบบัส (BUS) 
          เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูกเชื่อมต่อกันโดยผ่ายสายสัญญาณแกนหลัก ที่เรียกว่า BUS หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูลหลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุด เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ซึ่งเรียกว่าโหนด (Node) ข้อมูลจากโหนดผู้ส่งจะถูกส่งเข้าสู่สายบัสในรูปของแพ็กเกจ ซึ่งแต่ละแพ็กเกจจะประกอบไปด้วยข้อมูลของผู้ส่ง, ผู้รับ และข้อมูลที่จะส่ง การสื่อสารภายในสายบัสจะเป็นแบบ 2 ทิศทางแยกไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของ บัส โดยตรงปลายทั้ง 2 ด้านของบัส จะมีเทอร์มิเนเตอร์ (Terminator) ทำหน้าที่ลบล้างสัญญาณที่ส่งมาถึง เพื่อป้องกันไม่ให้สัญญาณข้อมูลนั้นสะท้อนกลับ เข้ามายังบัสอีก เพื่อเป็นการป้องกันการชนกันของข้อมูลอื่น ๆ ที่เดินทางอยู่บนบัสในขณะนั้น สัญญาณข้อมูลจากโหนดผู้ส่งเมื่อเข้าสู่บัส ข้อมูลจะไหลผ่านไปยังปลายทั้ง 2 ด้านของบัส แต่ละโหนดที่เชื่อมต่อเข้ากับบัส จะคอยตรวจดูว่า ตำแหน่งปลายทางที่มากับแพ็กเกจข้อมูลนั้นตรงกับตำแหน่งของตนหรือไม่ ถ้าตรง ก็จะรับข้อมูลนั้นเข้ามาสู่โหนด ตน แต่ถ้าไม่ใช่ ก็จะปล่อยให้สัญญาณข้อมูลนั้นผ่านไป จะเห็นว่าทุก ๆ โหนดภายในเครือข่ายแบบ BUS นั้นสามารถรับรู้สัญญาณข้อมูลได้ แต่จะมีเพียงโหนดปลายทางเพียงโหนดเดียวเท่านั้นที่จะรับข้อมูลนั้นไปได้

          
          2.   โทโปโลยีแบบวงแหวน (RING) 
            เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบเครือข่าย ทั้งเครื่องที่เป็นผู้ให้บริการ( Server) และ เครื่องที่เป็นผู้ขอใช้บริการ(Client) ทุกเครื่องถูกเชื่อมต่อกันเป็นวงกลม ข้อมูลข่าวสารที่ส่งระหว่างกัน จะไหลวนอยู่ในเครือข่ายไปใน ทิศทางเดียวกัน โดยไม่มีจุดปลายหรือเทอร์มิเนเตอร์เช่นเดียวกับเครือข่ายแบบ BUS ในแต่ละโหนดหรือแต่ละเครื่อง จะมีรีพีตเตอร์ (Repeater) ประจำแต่ละเครื่อง 1 ตัว ซึ่งจะทำหน้าที่เพิ่มเติมข้อมูลที่จำเป็นต่อการติดต่อสื่อสารเข้าในส่วนหัวของแพ็กเกจที่ส่ง และตรวจสอบข้อมูลจากส่วนหัวของ Packet ที่ส่งมาถึง ว่าเป็นข้อมูลของตนหรือไม่ แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะปล่อยข้อมูลนั้นไปยัง Repeater ของเครื่องถัดไป 
           
           3. โทโปโลยีแบบดาว (STAR) 
          เป็นรูปแบบที่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป 
             
          4.โทโปโลยีแบบHybrid 
            เป็นรูปแบบใหม่ ที่เกิดจากการผสมผสานกันของโทโปโลยีแบบ STAR , BUS , RING เข้าด้วยกัน เพื่อเป็นการลดข้อเสียของรูปแบบที่กล่าวมา และเพิ่มข้อดี ขึ้นมา มักจะนำมาใช้กับระบบ WAN (Wide Area Network) มาก ซึ่งการเชื่อมต่อกันของแต่ละรูปแบบนั้น ต้องใช้ตัวเชื่อมสัญญาญเข้ามาเป็นตัวเชื่อม ตัวนั้นก็คือ Router เป็นตัวเชื่อมการติดต่อกัน
          
          5.โทโปโลยีแบบ MESH 
            เป็นรูปแบบที่ถือว่า สามารถป้องกันการผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับระบบได้ดีที่สุด เป็นรูปแบบที่ใช้วิธีการเดินสายของแต่เครื่อง ไปเชื่อมการติดต่อกับทุกเครื่องในระบบเครือข่าย คือเครื่องทุกเครื่องในระบบเครือข่ายนี้ต้องมีสายไปเชื่อมกับทุกๆเครื่องระบบนี้ยากต่อการเดินสายและมีราคาแพง จึงมีค่อยมีผู้นิยมมากนัก


แหล่งอ้างอิง

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น ตอนเรียน A1 การบ้านบทที่ 1 ประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 ท้ายบท

การบ้านบทที่ 1 ประจำ วันที่ 10 พฤศจิกายน 53
1.จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบั
ตอบ อดีตการจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแฟ้มข้อมูลข้อมูลเหล่านั้นอาจไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน การขยายระบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการจัดเก็บข้อมูลด้วย ซึ่งการเก็บข้อมูลแบบเดิมทำให้เกิดปัญหาต่างๆ  ในปัจจุบันนี้ข้อมูลต่างๆ ได้ถูกจัดการไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยเก็บไว้ในสิ่งที่เรียกว่า แฟ้ม (File) เป็นการจัดเก็บเอกสารหรือข้อมูลต่าง ๆไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยจัดเก็บแยกเป็นแฟ้มข้อมูลตามประเภทของงาน หรือแยกตามการปฏิบัติงาน เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติพนักงาน แฟ้มข้อมูลลูกค้า
2.โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
            ตอบ    บิต (bit) :ประกอบไปด้วยเลขฐานสองใช้แทนค่าหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยหน่วยที่ใช้มีค่า 0 และ 1 เท่านั้น
                          - ไบต์ (byte):คือการนำเอาบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงต่อกัน ตัวอย่างเช่นไบต์มี 8 บิต ก็คือการนำเอาเลข 0 กับ 1 มาเรียงต่อกัน 8 ตัวจนครบ 1 ไบต์ เพื่อให้ได้อักขระหนึ่งตัว เช่น 01000001 คือเลขฐานสองที่มี 8 บิตเป็นรหัสแทนแล้ว
                          
ฟิลด์ (field) : คือการนำเอาอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เช่น ฟิลด์ std_name ใช้เก็บข้อมูลนักศึกษาฟิลด์ salary ใช้เก็บข้อมูลเงินเดือน                        
                           - เรคคอร์ด (record) : คือกลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ใน1เรคคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเป็นชุด เช่น เรคคอร์ดของพนักงาน                        
                          - ไฟล์ (file) : คือกลุ่มของเรคคอร์ดที่สัมพันธ์กัน เช่น แฟ้มประวัติของพนักงาน
ประกอบไปด้วยเรคคอร์ดของพนักงานทั้งหมดในบริษัท ดังนั้นหนึ่งไฟล์จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเรคคอร์ด เพื่อใช้ในงานข้อมูล                      
                          - Database : 
การรวมกันของหลาย files/table



3.การเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลมีข้อมูลจำกัดอย่างไร จงอธิบาย
 
        
ตอบ  1.)  มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Redundancy) การใช้แฟ้มข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันนี้ จะส่งผลให้เกิดข้อเสียในสิ่งต่อไปนี้
                         1.1)  ทำให้เสียเนื้อที่ในการใช้งานในหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเช่นดิสก์
                          1.2)   ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแฟ้มหนึ่งก็จะต้องตามไปแก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอื่นทุกแฟ้มที่มีข้อมูลนั้นอยู่ด้วยจึงอาจเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับ ความขัดแย้งกันของข้อมูล (Data Inconsistency) เนื่องจากข้อมูลในแต่ละแฟ้มเกิดความไม่สอดคล้องกันขึ้น ซึ่งพบมากในระบบการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูล
                   2.) ความยากในการประมวลผลข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มข้อมูล ในการสร้างรายงานของแต่ละระบบเช่นการสร้างรายงานการลงทะเบียน ว่าแต่ละวิชามีนักศึกษาคนใดบ้างที่ลงทะเบียนเรียน จะต้องมีการเขียนโปรแกรมประยุกต์เช่นโปรแกรมการลงทะเบียน เพื่อทำการดึงข้อมูลรหัสวิชา รหัสนักศึกษา จากแฟ้มข้อมูลการลงทะเบียน และต้องนำรหัสวิชาที่ได้ไปค้นชื่อวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่มีรหัสวิชาตรงกันจากแฟ้มรายวิชา ส่วนรหัสนักศึกษาที่ได้ก็จะต้องนำไปค้นชื่อนักศึกษาที่มีรหัสตรงกันจากแฟ้มนักศึกษา ซึ่งโปรแกรมการลงทะเบียนที่เขียนจะต้องมีความซับซ้อนพอสมควร เนื่องจากต้องมีการจัดการกับแฟ้มข้อมูลมากกว่า 1 แฟ้มข้อมูลขึ้นไป
                        3) ไม่มีผู้ควบคุมหรือรับผิดชอบระบบทั้งหมด เนื่องจากผู้เขียนโปรแกรมด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะดูแลเฉพาะข้อมูลที่จะมีการใช้กับงานของตนเท่านั้น
                        4) ความขึ้นต่อกัน (Dependency) โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลมักจะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการเขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษา COBOL โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่จะใช้เช่นชื่อเขตข้อมูลต่าง ๆ ขนาดของเขตข้อมูล จะต้องประกาศไว้ในส่วนของ DATA DIVISION ของโปรแกรมประยุกต์ ปัญหาก็คือว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลเมื่อใด ก็จะต้องไปทำการแก้ไขโปรแกรมประยุกต์ คือต้องไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแฟ้มข้อมูลในส่วน DATA DIVISION นั้นด้วย
                       
5.การกระจัดกระจายของข้อมูล (Data Dispersion) ถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บในแหล่งต่างๆอย่างไม่เป็นระบบโดยมีโครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลผูกติดกับโปรแกรมที่ใช้งานข้อมูลนั้นจะทำให้เกิดความยากในการใช้ข้อมูลร่วมกันกับโปรแกรมอื่น เนื่องจากต้องมีการพัฒนาโปรแกรมใหม่เพื่อที่จะสามารถใช้กับข้อมูลที่แตกต่างกันได้

4.ฐานข้อมูลคืออะไร และยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมาสองระบบ
          ตอบ 
คือระบบที่รวบรวมข้อมูลไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูล (File) ระเบียน (Record) และ เขตข้อมูล (Field) และถูกจัดการด้วยระบบเดียวกัน โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเข้าไปดึงข้อมูลที่ต้องการได้ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเปรียบฐานข้อมูลเสมือนเป็น electronic filing system  ตัวอย่างฐานข้อมูล  ได้แก่  ระบบธนาคารซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บอาจจะประกอบด้วยรายละเอียดของลูกค้า  โดยจัดเก็บชื่อ  ที่อยู่  รายการฝากเงินรายการสินเชื่อ  ยอดคงเหลือของบัญชีแต่ละประเภทการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะทำการเก็บข้องมูลของนักศึกษา ประกอบด้วยราบละเอียด ชื่อ ที่อยู่ รหัสนักศึกษา เป็นต้น
5.ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
ตอบ 1ช่วยสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลขององค์กรให้เป็นระเบียบ
         2. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
        
3. รักษาความถูกต้องและความเชื่อถือได้ของข้อมูล
         4.แยกข้อมูลตามประเภททำให้ข้อมูลประเภทเดียวกันจัดอยู่ในที่เดียวกันสามารถค้นหาและเรียกใช้งานได้ง่าย
6.ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร มีส่วนสำคัญอย่างไ
            ตอบ ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มดีเอ็มแอล (DML) หรือ ดีดีแอล (DDL) หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์) เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้น
            มีส่วนสำคัญกับฐานข้อมูล คือ

         
1.แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ 
            2.นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add)
         
3. ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้ 
            4. รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ 
7.จงยกตัวอย่างฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิต
          ตอบ
1.โปรแกรมการสั่งซื้อเครื่องสำอางออนไลน์
                     2.โปรแกรมการจองตั๋วเครื่องบิน
                     3.โปรแกรมบริหารบัญชีธนาคาร