วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วิชา ฐานข้อมูลเบื้องต้น ตอนเรียน A1 การบ้านบทที่ 1 ประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 ท้ายบท

การบ้านบทที่ 1 ประจำ วันที่ 10 พฤศจิกายน 53
1.จงสรุปแนวคิดในการจัดการข้อมูลจากอดีตถึงปัจจุบั
ตอบ อดีตการจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นแฟ้มข้อมูลข้อมูลเหล่านั้นอาจไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน การขยายระบบจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการจัดเก็บข้อมูลด้วย ซึ่งการเก็บข้อมูลแบบเดิมทำให้เกิดปัญหาต่างๆ  ในปัจจุบันนี้ข้อมูลต่างๆ ได้ถูกจัดการไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยเก็บไว้ในสิ่งที่เรียกว่า แฟ้ม (File) เป็นการจัดเก็บเอกสารหรือข้อมูลต่าง ๆไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยจัดเก็บแยกเป็นแฟ้มข้อมูลตามประเภทของงาน หรือแยกตามการปฏิบัติงาน เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติพนักงาน แฟ้มข้อมูลลูกค้า
2.โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
            ตอบ    บิต (bit) :ประกอบไปด้วยเลขฐานสองใช้แทนค่าหน่วยที่เล็กที่สุดของข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยหน่วยที่ใช้มีค่า 0 และ 1 เท่านั้น
                          - ไบต์ (byte):คือการนำเอาบิตหลาย ๆ บิตมาเรียงต่อกัน ตัวอย่างเช่นไบต์มี 8 บิต ก็คือการนำเอาเลข 0 กับ 1 มาเรียงต่อกัน 8 ตัวจนครบ 1 ไบต์ เพื่อให้ได้อักขระหนึ่งตัว เช่น 01000001 คือเลขฐานสองที่มี 8 บิตเป็นรหัสแทนแล้ว
                          
ฟิลด์ (field) : คือการนำเอาอักขระตั้งแต่หนึ่งตัวขึ้นไปมารวมกันเพื่อให้เกิดความหมาย เช่น ฟิลด์ std_name ใช้เก็บข้อมูลนักศึกษาฟิลด์ salary ใช้เก็บข้อมูลเงินเดือน                        
                           - เรคคอร์ด (record) : คือกลุ่มของฟิลด์ที่มีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือ ใน1เรคคอร์ดประกอบด้วยฟิลด์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกันเป็นชุด เช่น เรคคอร์ดของพนักงาน                        
                          - ไฟล์ (file) : คือกลุ่มของเรคคอร์ดที่สัมพันธ์กัน เช่น แฟ้มประวัติของพนักงาน
ประกอบไปด้วยเรคคอร์ดของพนักงานทั้งหมดในบริษัท ดังนั้นหนึ่งไฟล์จะต้องมีอย่างน้อยหนึ่งเรคคอร์ด เพื่อใช้ในงานข้อมูล                      
                          - Database : 
การรวมกันของหลาย files/table



3.การเก็บข้อมูลแบบแฟ้มข้อมูลมีข้อมูลจำกัดอย่างไร จงอธิบาย
 
        
ตอบ  1.)  มีความซ้ำซ้อนของข้อมูล (Redundancy) การใช้แฟ้มข้อมูลที่ซ้ำซ้อนกันนี้ จะส่งผลให้เกิดข้อเสียในสิ่งต่อไปนี้
                         1.1)  ทำให้เสียเนื้อที่ในการใช้งานในหน่วยเก็บข้อมูลสำรองเช่นดิสก์
                          1.2)   ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในแฟ้มหนึ่งก็จะต้องตามไปแก้ไขข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอื่นทุกแฟ้มที่มีข้อมูลนั้นอยู่ด้วยจึงอาจเกิดปัญหาที่เกี่ยวกับ ความขัดแย้งกันของข้อมูล (Data Inconsistency) เนื่องจากข้อมูลในแต่ละแฟ้มเกิดความไม่สอดคล้องกันขึ้น ซึ่งพบมากในระบบการประมวลผลแบบแฟ้มข้อมูล
                   2.) ความยากในการประมวลผลข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหลายแฟ้มข้อมูล ในการสร้างรายงานของแต่ละระบบเช่นการสร้างรายงานการลงทะเบียน ว่าแต่ละวิชามีนักศึกษาคนใดบ้างที่ลงทะเบียนเรียน จะต้องมีการเขียนโปรแกรมประยุกต์เช่นโปรแกรมการลงทะเบียน เพื่อทำการดึงข้อมูลรหัสวิชา รหัสนักศึกษา จากแฟ้มข้อมูลการลงทะเบียน และต้องนำรหัสวิชาที่ได้ไปค้นชื่อวิชาและจำนวนหน่วยกิตที่มีรหัสวิชาตรงกันจากแฟ้มรายวิชา ส่วนรหัสนักศึกษาที่ได้ก็จะต้องนำไปค้นชื่อนักศึกษาที่มีรหัสตรงกันจากแฟ้มนักศึกษา ซึ่งโปรแกรมการลงทะเบียนที่เขียนจะต้องมีความซับซ้อนพอสมควร เนื่องจากต้องมีการจัดการกับแฟ้มข้อมูลมากกว่า 1 แฟ้มข้อมูลขึ้นไป
                        3) ไม่มีผู้ควบคุมหรือรับผิดชอบระบบทั้งหมด เนื่องจากผู้เขียนโปรแกรมด้านใดด้านหนึ่ง ก็จะดูแลเฉพาะข้อมูลที่จะมีการใช้กับงานของตนเท่านั้น
                        4) ความขึ้นต่อกัน (Dependency) โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลมักจะเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมประยุกต์ที่สร้างขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้ามีการเขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษา COBOL โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลที่จะใช้เช่นชื่อเขตข้อมูลต่าง ๆ ขนาดของเขตข้อมูล จะต้องประกาศไว้ในส่วนของ DATA DIVISION ของโปรแกรมประยุกต์ ปัญหาก็คือว่าถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลเมื่อใด ก็จะต้องไปทำการแก้ไขโปรแกรมประยุกต์ คือต้องไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างแฟ้มข้อมูลในส่วน DATA DIVISION นั้นด้วย
                       
5.การกระจัดกระจายของข้อมูล (Data Dispersion) ถ้าข้อมูลถูกจัดเก็บในแหล่งต่างๆอย่างไม่เป็นระบบโดยมีโครงสร้างและรูปแบบของข้อมูลผูกติดกับโปรแกรมที่ใช้งานข้อมูลนั้นจะทำให้เกิดความยากในการใช้ข้อมูลร่วมกันกับโปรแกรมอื่น เนื่องจากต้องมีการพัฒนาโปรแกรมใหม่เพื่อที่จะสามารถใช้กับข้อมูลที่แตกต่างกันได้

4.ฐานข้อมูลคืออะไร และยกตัวอย่างฐานข้อมูลที่นักศึกษารู้จักมาสองระบบ
          ตอบ 
คือระบบที่รวบรวมข้อมูลไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูล (File) ระเบียน (Record) และ เขตข้อมูล (Field) และถูกจัดการด้วยระบบเดียวกัน โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเข้าไปดึงข้อมูลที่ต้องการได้ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเปรียบฐานข้อมูลเสมือนเป็น electronic filing system  ตัวอย่างฐานข้อมูล  ได้แก่  ระบบธนาคารซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บอาจจะประกอบด้วยรายละเอียดของลูกค้า  โดยจัดเก็บชื่อ  ที่อยู่  รายการฝากเงินรายการสินเชื่อ  ยอดคงเหลือของบัญชีแต่ละประเภทการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ซึ่งทางมหาวิทยาลัยจะทำการเก็บข้องมูลของนักศึกษา ประกอบด้วยราบละเอียด ชื่อ ที่อยู่ รหัสนักศึกษา เป็นต้น
5.ฐานข้อมูลช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเก็บข้อมูลในแฟ้มข้อมูลอย่างไร
ตอบ 1ช่วยสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลขององค์กรให้เป็นระเบียบ
         2. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
        
3. รักษาความถูกต้องและความเชื่อถือได้ของข้อมูล
         4.แยกข้อมูลตามประเภททำให้ข้อมูลประเภทเดียวกันจัดอยู่ในที่เดียวกันสามารถค้นหาและเรียกใช้งานได้ง่าย
6.ระบบจัดการฐานข้อมูล (DBMS) คืออะไร มีส่วนสำคัญอย่างไ
            ตอบ ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System) หรือที่เรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) เป็นกลุ่มโปรแกรมที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูล เพื่อจัดการและควบคุมความถูกต้อง ความซ้ำซ้อน และความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูล ซึ่งต่างจากระบบแฟ้มข้อมูลที่หน้าที่เหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของโปรแกรมเมอร์ ในการติดต่อกับข้อมูลในฐานข้อมูลไม่ว่าจะด้วยการใช้คำสั่งในกลุ่มดีเอ็มแอล (DML) หรือ ดีดีแอล (DDL) หรือจะด้วยโปรแกรมต่างๆ ทุกคำสั่งที่ใช้กระทำกับข้อมูลจะถูกดีบีเอ็มเอสนำมาแปล (คอมไพล์) เป็นการปฏิบัติการ (Operation) ต่างๆ ภายใต้คำสั่งนั้นๆ เพื่อนำไปกระทำกับตัวข้อมูลภายในฐานข้อมูลต่อไป สำหรับส่วนการทำงานตางๆ ภายในดีบีเอ็มเอสที่ทำหน้าที่แปลคำสั่งไปเป็นการปฏิบัติการต่างๆ กับข้อมูลนั้น
            มีส่วนสำคัญกับฐานข้อมูล คือ

         
1.แปลงคำสั่งที่ใช้จัดการกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล ให้อยู่ในรูปแบบที่ฐานข้อมูลเข้าใจ 
            2.นำคำสั่งต่าง ๆ ซึ่งได้รับการแปลแล้ว ไปสั่งให้ฐานข้อมูลทำงาน เช่น การเรียกใช้ (Retrieve) จัดเก็บ (Update) ลบ (Delete) เพิ่มข้อมูล (Add)
         
3. ป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับข้อมูลภายในฐานข้อมูล โดยจะคอยตรวจสอบว่าคำสั่งใดที่สามารถทำงานได้ และคำสั่งใดที่ไม่สามารถทำงานได้ 
            4. รักษาความสัมพันธ์ของข้อมูลภายในฐานข้อมูลให้มีความถูกต้องอยู่เสมอ 
7.จงยกตัวอย่างฐานข้อมูลกับการดำเนินชีวิต
          ตอบ
1.โปรแกรมการสั่งซื้อเครื่องสำอางออนไลน์
                     2.โปรแกรมการจองตั๋วเครื่องบิน
                     3.โปรแกรมบริหารบัญชีธนาคาร




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น